Kaze to kāten(สายลมกับม่าน)
‘social distancing’ เป็นโจทย์ข้อหนึ่งที่เราได้รับ จะเริ่มอย่างไรดี… ร้าน ชาบู บุฟเฟ่ ที่ต้องให้ผู้คนอยู่ห่างกัน ถึงจะเป็นแบบนั้นแต่ Conflict นี้ดีแต่ทำให้เราตื่นเต้นมากยิ่งขึ้นไปอีก
ว่าด้วยเรื่องของการจัด zoning
“แบ่งกลุ่มคนออกเป็น 2 กลุ่ม (กลุ่มครอบครัวและกลุ่มคนที่ไม่ได้อยู่บ้านเดียวกันหรือมาคนเดียว) – แบ่งร้านออกเป็น 2 ร้านตามประเภทของกลุ่มเป้าหมาย – จำกัดเส้นทางให้เดินได้เป็นเส้นตรงสำหรับ 1 คนแต่ไม่อึดอัด – สร้างขอบเขตขึ้นสำหรับลูกค้าที่มีโต๊ะแล้วด้วยวัสดุที่เรียบง่ายเป็นกันเอง‘ม่านเสื่อม้วน’แบบญี่ปุ่น ปรับระดับได้ รูปแบบของร้านจึงเปลี่ยนไปตลอดเวลาตามปริมาณของลูกค้าที่อยู่ด้านใน”
การแยก ‘ผู้คน’ กับ ‘ผู้คน’ ที่เป็นลูกค้าดูเป็นเรื่องที่ไม่ซับซ้อนและทำได้ แต่แล้ว… กับพนักงานเสิร์ฟจะเป็นได้อย่างไร?
มาเริ่มกันอีกครั้ง เราต้องการใช้ศักยภาพของพื้นที่ให้เต็มประสิทภาพ “เราแบ่งร้านออกเป็นทางเข้า 2 ทาง – ช่องทางเดินถูกบีบให้เล็กลงสำหรับ 1 คนเดินชิดไปทางด้านซ้ายและขวา ถูกต้อง เราเหลือพื้นที่ระหว่าง 2 ร้านนั้นเพียงพอที่จะใช้เป็น ‘open kitchen!’ สำหรับเสิร์ฟเมนูโดยที่พนักงานไม่ต้องแตะตัวหรือเดินสวนลูกค้าแม้แต่ครั้งเดียว”
โต๊ะทุกโต๊ะ set ชิดติดกับครัวที่เป็นส่วนกลางสร้างผนังกระจกกั้นทั้ง 2 ด้าน เปิดช่องที่มีขนาดเพียงพอที่จะยื่นจานเมนูผ่านแต่ละโต๊ะ พนักงานสามารถเสิร์ฟเมนูได้จากด้านในทั้ง 2 ฝั้ง ดังนั้นทุกคนจะได้เห็นทุกเมนูที่ถูกตักเตรียมจากครัวตรงหน้าที่ทั้งสะอาดและถูกสุขอนามัย สร้างมุมมองแบบใหม่ที่แตกต่างจากร้านชาบูชาบูในในปัจจุบัน
ในที่สุดร้าน ชาบูชาบู ที่เป็นบุฟเฟ่ และใช้ social distancing มาเป็น concept จึงเสร็จสมบูรณ์
เราทราบว่า Location ของร้านไม่ได้อยู่ในระแวกที่เป็นร้านอาหาร การเข้าถึงร้านคงต้องเริ่มต้นจากการสร้างความสนใจจากบริเวณโดยรอบและคนที่สัญจรไปมา “เขาจะหันมาที่เรา และโอกาสหน้าหากคิดถึง ชาบูชาบู เขาจะกลับมาหาเรา เพราะเขาจำเสียงเราได้…” การสร้างความสนใจด้วยภาพอาจมีความเป็นไปได้ในระดับหนึ่งแต่หากเพิ่มการดึงความสนใจด้วยเสียง ถึงคุณจะไม่อยู่ในมุมมองที่มองเห็นหน้าร้าน แต่คุณต้องสนใจและตั้งคำถามถึงที่มาของเสียงอย่างแน่นอน
Wind Chimes Bamboo คือเครื่องมือสำคัญที่เรานำมาออกแบบคู่ไปกับ facade ของร้าน โดยการสร้างโครงสำหรับแขวน wind chimes bamboo จากบริเวณหน้าต่างของอาคารทั้ง 2 ชั้น และ cover ทับด้วยระแนงไม้บังโครงสร้างด้านในและทำงานเป็นเหมือนกริลแอร์ที่นำลมจากทิศทางต่างๆไหลเข้ามา wind chimes bamboo ที่ถูกกระทบจากลมที่มาจากด้านนอกจึงเริ่มทำงานสร้างเสียงกังวานโดยรอบ
“สมบูรณ์แบบไร้ที่ติ …แต่ตอนกลางคืนจะเป็นอย่างไรนะ?” ปัญหานี้ถูกพูดถึงในเวลาต่อมา เสียงที่เกิดขึ้นในตอนกลางคืนอาจดังจนไปรบกวนถึงอาคารข้างเคียง แต่ปัญหาดังกล่าวกลับนำเราไปสู่คำตอบที่ช่วยให้การสื่อสารถึงคอนเซปของร้าน(social distancing)ชัดเจนขึ้นได้อย่างดีเยี่ยม
“สมบูรณ์แบบไร้ที่ติ …แต่ตอนกลางคืนจะเป็นอย่างไรนะ?” ปัญหานี้ถูกพูดถึงในเวลาต่อมา เสียงที่เกิดขึ้นในตอนกลางคืนอาจดังจนไปรบกวนถึงอาคารข้างเคียง แต่ปัญหาดังกล่าวกลับนำเราไปสู่คำตอบที่ช่วยให้การสื่อสารถึงคอนเซปของร้าน(social distancing)ชัดเจนขึ้นได้อย่างดีเยี่ยม
เครื่องมือหลักที่เราไว้ใช้สำหรับกั้นขอบเขตของคนภายในร้าน ถูกทำมาเป็นหัวใจสำคัญสำหรับกั้นลมไม่ให้พัดไปจนถึงโครงสร้างด้านใน facade ในเวลาร้านปิด ‘ม่านเสื่อม้วน’ นั่นเอง layer ขั้นกลางถูกเพิ่มขึ้นมาใช้สำหรับกั้นลมไม่ให้เข้าไปกระทบกับ wind chimes จนเกินเสียงในช่วงเวลาที่เราไม่ต้องการ
อาจเป็นการพูดที่ดูเกินจริงไปหน่อยแต่การเข้ามาแก้ปัญหาของ layer ขั้นกลาง ‘ม่านเสื่อม้วน’ ก็ช่างเหมาะกับสถานการเช่นนี้จริง ๆ เราจึงขอเสนอตั้งชื่อร้านนี้ว่า Kaze to kāten(สายลมกับม่าน) ร้าน ชาบูชาบู ในแบบญี่ปุ่นร้านนี้จะสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับคุณได้หรือไม่นั้น คงต้องเรียนเชิญทุกท่านให้ได้ไปลิ้มลองและสัมผัสด้วยตัวเอง