Text by : Siraphob Pulsri
สิ่งสำคัญไม่ใช่ ‘ความรู้’ แต่อาจเป็น ‘ความไม่รู้’ ต่างหาก ความรู้สามารถต่อยอดได้และมีความสำคัญยิ่งอย่างแน่นอน แต่สำหรับเด็กๆแล้วการที่ได้อยู่กับห้วงเวลาแห่งการตั้งคำถามและพยายามหาคำตอบอย่างไม่มีที่สิ้นสุดนั้นคือช่วงเวลาสำคัญที่เด็กจะได้พัฒนาสักยกภาพทั้งทางด้านร่างกายและสมองให้เกิดความเหมาะสมที่สุดในแบบของตัวเองด้วยตนเอง ดังนั้น การสร้างความรู้สึกที่อยากจะเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาจนกลายเป็นกิจวัตรติดตัวไปจนโตนั้นคือภารกิจของเรา
โปรเจค KPIS เรามีแนวความคิดที่น่าสนใจที่ต้องการให้ในทุกๆพื้นที่ที่เด็กหยุดอยู่ขณะทำกิจกรรมหรืออยู่ในระหว่างข้อต่อของพื้นที่การใช้งานก็สามารถเรียนรู้และพัฒนาสักยภาพของตนเองในด้านต่างๆได้ตลอดเวลา
แต่หากดูจากพื้นที่ในส่วนอนุบาลกับจำนวนของนักเรียนที่เพิ่มขึ้นทุกปี อาจไม่มีพื้นที่มากพอในการสร้างห้องเพิ่มเพื่อให้เกิด function ใหม่ๆได้ และอาจไม่เป็นไปตามความต้องการที่อยากให้เด็กได้เรียนรู้ตลอดเวลา รวมถึงสื่อการเรียนการสอนสำหรับเด็กอนุบาลที่มีหลากหลายประเภทซึ่งก็ต้องการพื้นที่สำหรับเก็บอย่างเป็นกิจจะลักษณะเช่นกัน
ดังนั้นเราจึงเริ่มนำผนังในความหนา 10 cm. บูรณาการ 2 ความต้องการพื้นที่ทั้ง play-area และ Storage ให้อยุ่ในผนังขนาด 30 cm เพื่อตอบโจทย์ความต้องการทั้งหมดโดยสมบูรณ์
เราเรียกสิ่งนั้นว่า ‘Wall-play’ เครื่องมือหลักที่จะถูกนำมาใช้ในทุกพื้นที่ของโซนอนุบาล เราในวัยเด็กจะมองผ่าน ‘ความทั่วไป’ เป็นเหมือน ‘ผนังเรียบๆธรรมดา’ ที่เราเรียนรู้จบแล้ว ทั้งที่เรา เดินผ่านมันแทบจะทุกเวลา แต่ก็ไม่ได้ให้ความสนใจหรือเรียนรู้อะไรจากมันได้อีก แต่ถ้าหากคิดกลับกัน wall นี่เองน่าเป็นเครื่องมือที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการออกแบบการพัฒนาสักยภาพของเด็กๆเหล่านี้(ในเมื่อก็เดินผ่านแทบจะทุกเวลาทั้งที) เด็กๆจะให้ความสนใจกับสิ่งแปลกใหม่ที่พบเจอได้ทุกเวลา อาจเป็นการเข้าไปสำรวจ วิเคราะห์ ทดลองขีดเขียนหรือขยับโยกย้ายเพื่อตอบสมมติฐาน เด็กๆอาจเรียกการกระทำดังกล่าวได้เป็นทำนองนั้น ส่วนในมุมมองของผู้ใหญ่อย่างเราคงเรียกการประทำเหล่านั้นว่าเป็นการ Play ของเด็กๆอย่างแน่นอน
Wall-play ในความสูงโดยประมาน 2.8 m. ถูกแบ่งการใช้งานหลักๆออกเป็น 2 ส่วน
1. ส่วนของเด็ก ในความสูงจากพื้น 0.00-1.40 m. พื้นที่ play อย่างเต็มรูปแบบ ทุกๆผนังจากถูกออกแบบให้ง่ายงานได้ทั้ง 2 ด้าน ได้แก่
a. Common area = wall play พื้นที่ส่วนกลางที่จะติดตั้งของเล่นซึ่งจะมีวิธีการและจุดประส่งในการเล่นที่แตกต่างกันในทุกๆจุด
b. Classroom = locker,homework พื้นที่สำหรับจัดเก็บสัมภาระส่วนตัวและกับบ้านในห้องเรียน
2. ส่วนของผู้ใหญ่ ในความสูงจาก 1.40-2.80 m. หรือก็คือเป็นพื้นที่ที่อยู่เกินขอบเขตที่เด็กอนุบาลจะใช้งานได้ ออกแบบให้ภาพลักษณ์สัมพันธ์กันกับครึ่งล่างและจะถูกแบ่งเป็นทั้งหมด 3 การใช้งาน ได้แก่
a. Information board : ติดตั้งบริเวณหน้าทางเข้าห้องสำหรับนำเสนอข่าวสารและผลงานของนักเรียน
b. Storage : เก็บอุปกรณ์ต่างๆสำหรับสื่อการเรียนการสอนและกิจกรรม
c. Glass window : หน้าต่างสำหรับมองเข้าไปในห้องเรียน
“เราไม่มีทางเข้าใจเด็กหรอก เหตุผลนั้นก็คือเราไม่สามารถเอาคำตอบจากเด็กได้ว่าสิ่งที่เราสรรค์สร้างให้นั้นช่วยสร้างสักยภาพใหม่ๆให้เด็กๆเหล่านั้นหรือไม่ แต่สิ่งที่เรารู้และเห็นได้ชัดๆเลยคือเค้ากำลังสนุกกับการมาโรงเรียนมากขึ้น” คำกล่าวของพวกเราคนหนึ่ง
ความคิดเห็นดังกล่าวนั้นอาจพูดถูก กล่าวโดยสรุปคือ ภารกิจหลักของเราไม่ใช่แค่การเลือกความรู้ที่เด็กควรได้รับใส่เข้าไปในงานเพียงอย่างเดียวเท่านั้น หากแต่คือการสร้างพื้นที่ทุกๆตารางเมตร ให้เด็กเกิดความสังสัยใคร่รู้อย่างเป็นกิจวัตรที่จะหาคำตอบจากเรื่องที่ตนเองยังไม่เข้าใจต่อไปเรื่อยๆอย่างไม่สิ้นสุด สุดท้ายแล้วเด็กๆเหล่านั้นจะเลือกที่จะสนใจหยุดอยู่กับปริศนาตามหาคำตอบไปเรื่อยๆ หรือจะแค่เดินตรงต่อไปเพียงแต่หันไปมองและตั้งคำถาม ไม่ว่าจะเป็นแบบไหน ทุกๆก้าวเท้าของเด็กๆเหล่านั้นก็จะไม่มองสิ่งรอบตัวที่เลยผ่านเป็นเพียง ‘ผนังธรรมดาๆ’ อีกต่อไป